วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การใช้โปรแกรม ulead video studio 10 (ส่วนที่ 2)

ส่วนที่ 2 การ Import File



ก่อนที่เราจะทำการสร้างไฟล์วีดีโอนั้นเราจะต้องทำการ import ไฟล์ภาพและไฟล์เสียงเข้ามาก่อน

ขั้นตอนการ import ไฟล์ภาพ






ในการ import ไฟล์ภาพเข้ามานั้นให้เราไปเลือกที่ Gallery ซึ่งใน Gallery จะประกอบไปด้วยโหมดต่างๆ ในการ import ดังนี้ Video, Image, Audio , Color , Transaction , Video Filter , Title , Decoration , Flash Animation ซึ่งในที่นี้เราต้องการที่จะ import ไฟล์ภาพเข้ามา ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้

1. ทำการ import ไฟล์ภาพเข้ามาโดยให้เราทำการเลือกไฟล์ภาพเข้ามาที่ upload image หลังจากนั้นก็จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ เมื่อเลือกไฟล์ภาพที่เราต้องการได้แล้ว ก็ให้เราคลิกปุ่ม ok


2. เมื่อทำการคลิกปุ่ม ok แล้วก็จะปรากฎภาพที่เราเลือกขึ้นมา ซึ่งในการ import ไฟล์ภาพนั้นเราสามารถที่จะทำการ import ไฟล์ภาพเข้ามาได้หลายภาพตามที่เราต้องการ ซึ่งไฟล์ภาพที่เรา import เข้ามานั้นจะจัดเก็บใน Gallery โดยอัตโนมัติ




เมื่อเราทำการ import ไฟลภาพเสร็จแล้ว หลังจากนี้เราก็จะทำการ import ไฟล์เสียงเข้ามา ซึ่งวิธีการทำก็คล้ายกับการ import ไฟล์ภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้

1. ทำการ import ไฟล์เสียงเข้ามาโดยให้เราทำการเลือกไฟล์เสียงเข้ามาที่ upload audio หลังจากนั้นก็จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกไฟล์เสียงที่ต้องการ เมื่อเลือกไฟล์เสียงที่เราต้องการได้แล้ว ก็ให้เราคลิกปุ่ม ok




2. เมื่อทำการคลิกปุ่ม ok แล้วก็จะปรากฎไฟล์เสียงที่เราเลือกขึ้นมา ซึ่งในการ import ไฟล์เสียงนั้นเราสามารถที่จะทำการ import ไฟล์เสียงเข้ามาได้หลายไฟล์ตามที่เราต้องการ ซึ่งไฟล์เสียงที่เรา import เข้ามานั้นจะจัดเก็บใน Gallery โดยอัตโนมัติ


เมื่อเราทำการ import ไฟล์ภาพและไฟล์เสียงเข้ามาแล้ว หลังจากนี้เราก็จะเริ่มทำการสร้างไฟล์วีดีโอ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้

1. ให้เราไปคลิกที่เมนู Edit หลังจากนั้นก็จะปรากฎพื้นที่ในการสร้างไฟล์วีดีโอขึ้นมาซึ่งในช่อง Timeline นั้นจะมีช่องในการกำหนดค่าต่างๆในการสร้างไฟล์วีดีโอซึ่งแต่ละช่องจะมีหน้าที่ในการทำงานดังนี้


-Video Track จะทำการเก็บภาพที่เป็น Background ไม่สามารถที่จะย่อขยายหรือจัดวางตรงตำแหน่งที่เราต้องการได้ จะแสดงภาพแบบเต็มจอ
-Overlay Track จะทำการเก็บภาพที่เป็นขนาดเล็กกว่า Background สามารถที่จะย่อขยาย หรือสามารถที่จะจัดวางตรงตำแหน่งไหนก็ได้ที่เราต้องการ การแสดงผลจะเป็นขนาดตามที่เรากำหนด ภาพจะแสดงอยู่บนภาพ Background
-Title Track จะทำการกำหนดชื่อให้กับวีดีโอ
-Voice Track จะทำการเก็บไฟล์เสียงที่เราได้ทำการอัดไว้
-Music Track จะทำการเก็บไฟล์ music




2. ทำการแดรกส์เมาส์เลือกภาพที่เราต้องการมาวางไว้ในช่อง Video Track เพื่อที่จะทำเป็นBackground ซึ่งภาพที่เรานำมาเป็น Background นี้สามารถที่จะกำหนดเวลาในการแสดงได้ โดยเลือกที่ Total duration project ซึ่งจะมีเวลาให้เรากำหนด ซึ่งตัวแรกจะกำหนดเป็นชั่วโมง นาที วินาที ตามลำดับ ซึ่งในการกำหนดเวลานั้นให้เราไปคลิกตรงเวลาที่เราต้องการให้กระพริบ จากนั้นก็ทำการเลื่อนเวลาที่ต้องการตรงลูกศรด้านข้าง


3. ทำการแดรกส์เมาส์เลือกภาพที่เราต้องการมาวางไว้ในช่อง Overlay Track เพื่อที่จะทำเป็นภาพที่แสดงบน Background ซึ่งภาพที่เรานำมานี้สามารถที่จะกำหนดเวลาในการแสดงได้ โดยเลือกที่ Total duration project ซึ่งจะมีวิธีในการทำเหมือนกับ video track ซึ่งในขั้นตอนนี้เราสามารถที่จะทำการกำหนดการเคลื่อนไหวให้กับภาพได้ด้วย โดยการที่เราทำการเลือก Description/Style แล้วทำการเลือกการเคลื่อนไหวตามที่เราต้องการได้เลย




4. หลังจากนั้นก็ทำการแดรกส์เมาส์เลือกไฟล์เสียงที่เราต้องการเข้ามาไว้ที่ช่อง music Track โดยให้เราไปเลือกที่ Gallery แล้วเลือก Audio จากนั้นก็เลือกไฟล์เสียงที่เราต้องการมาวางไว้ที่ช่องได้เลย ซึ่งไฟล์เสียงที่เรานำเข้ามานี้สามารถที่จะทำการตัดเสียงส่วนหัวและส่วนท้ายได้โดยทำให้เมาส์เป็นหัวลูกศรแล้วแล้วลากไปตรงส่วนที่เราต้องการได้ ซึ่งการทำแบบนี้สามารถทำได้ทั้งส่วนที่เป็นทั้งหัวและท้ายเสียงได้





ส่วนที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 1 นางสาววารุณี คงพิพัฒน์ http://kwjoyforever-joykongpipat.blogspot.com/
ส่วนที่ 3 นางสาวศิริพร รัตนพันธ์ http://siriporn-a.blogspot.com/
ส่วนที่ 4 นางสาวโสภิตา สมบูรณ์ http://somboon-tangmo.blogspot.com/
ส่วนที่ 5 นางสาววารุณี คงพิพัฒน์ http://kwjoyforever-joykongpipat.blogspot.com/